ข้อมูลจังหวัดสุพรรณบุรี พิมพ์

สุพรรณบุรี            เมืองยุทธหัตถี
วรรณคดีขึ้นชื่อ   เลื่องลือพระเครื่อง
รุ่งเรืองเกษตรกรรม  สูงล้ำประวัติศาสตร์
แหล่งปราชญ์ศิลปิน  ภาษาถิ่นชวนฟัง

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

สุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทาง   โบราณคดี    มีอายุไม่ต่ำกว่า  3,500 - 3,800  ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก  และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ  ฟูนัน   อมราวดี   ทวารวดี   ศรีวิชัย   สุพรรณบุรี   เดิมมีชื่อ   "ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ   หรือ  "พันธุมบุรี"  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง  ต่อมาพระเจ้ากาแต ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ   แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย   และบูรณะวัดป่า   เลไลยก์   ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน   2000   คนบวช  จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี"  ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้ หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อ เมืองเรียกว่า "อู่ทอง"  จวบจนสมัย ขุนหลวงพะงั่ว เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า "สุพรรณบุรี"  นับแต่นั้นมา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรี       เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าว   อู่น้ำที่สำคัญ   ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง   สภาพเมือง ตลอดจนประวัติศาสตร์  โบราณสถาน ถูกทำลาย  ปรักหักพัง   จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์   เมืองสุพรรณได้ฟื้นตัว    และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่    น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรี   ในด้านประวัติศาสตร์   การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา    ได้แก่ชัยชนะ  แห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช    ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ  ในด้านวรรณคดี   เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดี   ไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน   อาทิบ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ เป็นต้น
สุพรรณบุรีดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่  ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่  อดีต เมื่อ  พ.ศ. 1420 จากนามเดิม  เมืองพันธุมบุรี ในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดี ได้จารึก ชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือและนาม “สุพรรณภูมิ” ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึง จัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวง ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ที่สำคัญอีกด้วย


ที่ตั้งและอาณาเขต

     สุพรรณบุรี   เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน  หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี ในเขตภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศไทยจัดว่าเป็นจังหวัดที่มีความยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน  มีหลักฐานด้าน  โบราณสถาน   โบราณวัตถุเป็นประจักษ์พยานทำให้สันนิษฐานได้ว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีความเก่าแก่เพราะพบโบราณวัตถุ     ตั้งแต่สมัยยุคสัมฤทธิ์และเหล็ก  ยุคฟูนัน อมราวดี  ทวาราวดี  ศรีวิชัย  ลพบุรี  อู่ทอง   ตั้งแต่ยุคโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
     สุพรรณบุรี   เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอยุธยาด้านตะวันตก  ในประวัติศาสตร์ ไทยรบกับพม่าจำนวน  33   ครั้ง   เป็นการรบติดพันใกล้เมืองหลวง   โดยมีสุพรรณบุรีเป็นสมรภูมิ เลือด 6  ครั้งใหญ่ ๆ    ชาวสุพรรณบุรีเป็นผู้สืบสายเลือดนักรบโดยแท้ การรบที่ดุเดือดและ เป็นเกียรติประวัติอันยาวนานแห่งสงครามไทยรบกับพม่า     คือ    สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์  เป็นการประกาศอิสรภาพจากพม่า โดยเด็ดขาด
สุพรรณบุรี เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรทวาราวดี โดยมีเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางตลอดมา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่   17    ต่อมามีการตั้งเมืองทวาราวดีศรีสุพรรณขึ้นใหม่แถบฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำสุพรรณบุรีและขยายเขตข้ามฝั่งตะวันออกด้วยรวมเป็นอาณาจักรเรียกว่าเมืองพันธุมบุรี ในปี พ.ศ.1893  ชาวสุพรรณบุรี ลงมือสร้างปราสาทราชมณเฑียรขึ้นที่หนองโสน    ต่อมากรุงศรีอยุธยาสิ้นราชธานี  สุพรรณบุรีจึงกลายเป็นเมืองร้างชั่วระยะหนึ่งจนเริ่มมี  ผู้คนอพยพมาอยู่ด้วยความสมัครใจและในฐานะเชลยศึก  จึงทำให้ประชากรจังหวัดสุพรรณบุรี มีเชื้อสายมาจากไทย มอญ ลาว ( ซึ่งมีทั้งลาวเวียง  ลาวโซ่ง  และลาวพวน ) และบางส่วนเป็นชาวเชื้อสายเขมร    เช่น พื้นที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี    จนถึง ปี  พ.ศ.  2394     ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ปกครองบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ มาจนทุกวันนี้
     สุพรรณบุรี  เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคกลางด้านทิศตะวักตกของประเทศไทย  ตั้งอยู่บน
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้ จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่  14  องศา  4  ลิปดา   ถึง  15  องศา  5 ลิปดาเหนือ  และระหว่างเส้นแวง    99  องศา 17  ลิปดา    ถึง   100 องศา   16  ลิปดา    ตะวันออก   อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  3-10  เมตร  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  5,400 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  3.3  ล้านไร่   คิดเป็นร้อยละ  5.2  ของพื้นที่ภาคกลาง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 107  กิโลเมตร (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) โดยทางรถไปประมาณ  142  กิโลเมตร

จังหวัดสุพรรณบุรี   มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดจังหวัดอุทัยธานี และชัยนาท
ทิศตะวันออก ติดจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้  ติดจังหวัดนครปฐม และกาญจนบุรี
ทิศตะวันตก ติดจังหวัดกาญจนบุรี

ภูมิประเทศ

    จังหวัดสุพรรณบุรี      มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่   มีพื้นที่บางส่วน เป็นที่
ราบสูงโดยมีความลาดเทระหว่าง   0-3   เปอร์เซ็นต์    ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด     ตลอดแนวตั้งแต่เหนือจรดใต้   บริเวณพื้นที่ต่ำสุดอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ คืออยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เฉลี่ย ประมาณ  3  เมตร   ส่วนทางเหนือของจังหวัดอยู่สูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ  10  เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีใช้ทำนาข้าว มีแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงอยู่ทั่วไป     แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจากเหนือสุดถึงใต้สุด   ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน  หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี
ภูมิอากาศ
 
 
    สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดสุพรรณบุรี  มีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคกลาง  
กล่าวคือ ฤดูร้อนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม  ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป   ฤดูฝนลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียพัดผ่านมาในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ทำให้อากาศมีความชุ่มชื้นมีฝนตกโดยทั่วไป    ฤดูหนาวได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์  ทำให้อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป ในปี 2540
อุณหภูมิสูงสุด  39.3   องศาเซลเซียส    ในเดือนพฤษภาคม     และ มิถุนายน  อุณหภูมิต่ำสุด  16.2  องศาเซลเซียส  ในเดือนมกราคม     ปริมาณน้ำฝนทั้งปี  วัดได้ 802  มิลลิเมตร

 


การเมืองการปกครอง และประชากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  คือ นายสุภัทร์        ศรีสุนทรพินิต

executive1
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  คือ นายสมชาย      เลิศพงศ์ภากรณ์

executive2
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  คือ นายวีระศักดิ์        วิจิตร์แสงศรี

executive3
นายอำเภอ  อ.อู่ทอง   คือ นายไพฑูรย์     รักษ์ประเทศ
 
 จังหวัดสุพรรณบุรี    แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น   6   เขต  มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  
6  คน  ได้แก่   นายบรรหาร    ศิลปอาชา     นายวราวุธ   ศิลปอาชา  นายณัฐวุฒิ    ประเสริฐสุวรรณ   นางสาวกาญจนา   ศิลปอาชา   นายจองชัย   เที่ยงธรรม   และนายประภัตร    โพธิสุธน

การปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน  คือ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10  อำเภอ  110  ตำบล และ  982   หมู่บ้าน    21   เทศบาล   106   องค์การบริหารส่วนตำบล   โดยมีอำเภอดังนี้
1. อำเภอเมืองสุพรรณบุรี          6.  อำเภอศรีประจันต์
2. อำเภอดอน เจดีย์                   7.  อำเภอสองพี่น้อง
3. อำเภอด่านช้าง                     8.  อำเภอสามชุก
4. อำเภอเดิมบางนางบวช          9.  อำเภอหนองหญ้าไซ
5. อำเภอบางปลาม้า                10.  อำเภออู่ทอง
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น     แบ่งการปกครองออกเป็น    องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล  2  แห่ง   คือ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลตำบลสองพี่น้อง  สุขาภิบาล  19 แห่ง    และองค์การบริหารส่วนตำบล  106  แห่ง   จากสถิติของสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย  ณ เดือนกุมภาพันธ์  2547 จังหวัดสุพรรณบุรีมีประชากร ทั้งสิ้น  868,431  คน  เป็นชาย  423,002  คน  และหญิง  445,429    คน


ทรัพยากร และแหล่งน้ำ

ดิน   หากพิจารณาคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและเคมี  เช่น เนื้อดิน ความลึกของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ชนิดของแร่ธาตุและปริมาณแร่ธาตุ อาหารของดิน   จะพบว่า สภาพของดิน ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เหมาะสมกับการปลูกพืช      ดังนี้
1. การทำนาข้าว
2. การเพาะปลูกพืชไร่
3. การเพาะปลูกไม้ยืนต้น  ไม้ผลต่าง ๆ
4. การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์  ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรสำหรับการปศุสัตว์
แหล่งน้ำ   ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองต่างๆ  มีแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่สำคัญและเป็น
ประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชากร     ได้แก่   แม่น้ำท่าจีน   หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี ห้วยกระเสียวซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสุพรรณบุรี  นอกนั้นเป็นแม่น้ำสายเล็กซึ่งส่วนใหญ่ จะไหลลงแม่น้ำท่าจีนเกือบทั้งสิ้น
ป่าไม้  ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดสุพรรณบุรี  เดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ เต็ง
มะค่าโมง ซาก มะค่าแต้ ชิงชัน ตะเคียนทอง  ยมหอม  แต่สภาพปัจจุบันได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าทำกินในเขต ป่าสงวนหลายแห่ง ถูกเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย  และใช้ทำนา   เป็นต้น
แร่ธาตุ  จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี   พบว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีปริมาณแร่ ไม่
มากนัก พบแร่มีค่าบางชนิดเท่านั้น ได้แก่  ดีบุก  พบบริเวณเขาโดดตุงกุง ทางตอนเหนือ อำเภอด่านช้าง  นอกจากนี้ยังพบใยหินแกรนิต  และหินปูน ใช้ในการก่อสร้าง บริเวณ เขาใหญ่ทางตะวันตก  เขาทางตะวันออกและตะวันตกระหว่างเส้นทางอู่ทองถึงพนมทวนและบริเวณเขื่อนกระเสียว  อำเภอด่านช้าง และยังขุดพบน้ำมันดิบในบริเวณตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันได้ทำการขุดเจาะแล้ว
การกสิกรรม   จากการที่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีการชลประทาน
อย่างทั่วถึง ประกอบกับสภาพดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล มันสัมปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง และพืชอื่น
ปศุสัตว์   จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแหล่งเลี้ยงโค สุกร เป็ด ไก่ กระบือ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ที่สำคัญมาก โดยการเลี้ยงจะกระจายอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่ของจังหวัด


อุตสาหกรรม

     ปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน  959  แห่ง  จำนวนแรงงาน
ทั้งหมด  12,711  คน  เงินทุนหมุนเวียน  7,090,034,827  บาท  อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร     โดยมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่   3  แห่ง    คือที่อำเภออู่ทอง สามชุก  และอำเภอด่านช้าง   ทำให้มีเงินหมุนเวียนภายในจังหวัดสูง ในอนาคตอุตสาหกรรมของจังหวัดสุพรรณบุรีจะมีบทบาทสำคัญเนื่องจากมีการตั้งโรงงานขนาดใหญ่      ประกอบกับ   มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคตะวันตก ที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี    เพราะ    ในจังหวัดสุพรรณบุรีมีอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรโดยเฉพาะแบบง่าย   ๆ   เช่น   ผลิตหน่อไม้- กระป๋อง  (หน่อไม้ฝรั่ง  หน่อไม้ไผ่)  ผลไม้กระป๋อง  เช่น   แห้วกระป๋อง กระจับกระป๋อง ว่านหางจรเข้    และลูกตาลกระป๋อง     แม้กระทั่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร อย่างครบวงจรของจังหวัดสุพรรณบุรี   คือการผลิตยอดอ้อยตากแห้ง   และซังข้าวโพดบด เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุ   อาหารสัตว์  และใช้เพาะเห็ดฟางในต่างประเทศซึ่งมีโรงงานผลิตอยู่    2   แห่ง    ที่อำเภอสองพี่น้อง   และอำเภอหนองหญ้าไซส่วนบนของฟอร์มส่วนล่างของฟอร์ม

การศึกษา

ทางด้านการศึกษา   จังหวัดสุพรรณบุรีมีโรงเรียนในสายสามัญจำนวน  526  แห่ง ครู 7,445 คน นักเรียน 148,076  คน    ในระดับอาชีวศึกษาและ อุดมศึกษา  มีสถานศึกษา   จำนวน  12  แห่ง  อาจารย์  540  คน  นักศึกษา   14,384   คน 

การสาธารณสุข

     ทางด้านสาธารณสุข   จังหวัดสุพรรณบุรีมีโรงพยาบาลของรัฐ   12   แห่ง   เอกชน  8  
แห่ง    แพทย์    120   คน   ทันตแพทย์  22  คน  พยาบาล 1,034  คน

การคมนาคม ขนส่ง และการสื่อสาร

     ระบบการคมนาคมเป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ของ
จังหวัด   การคมนาคมที่สะดวกทำให้เกิดความคล่องตัวทั้งด้านการผลิตและการตลาด ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ    และยังเป็นการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น  เส้นทางการคมนาคมภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงแบ่งเป็น  3  ทางด้วยกัน   คือ
1. การคมนาคมทางรถยนต์  ในปัจจุบันภายในจังหวัดสามารถติดต่อถึงกันได้ทุกอำเภอสภาพของทางส่วนใหญ่ลาดยาง
รายละเอียดระยะทางจากอำเภอเมืองสุพรรณบุรีถึงอำเภอต่าง ๆ   มีดังนี้
o อำเภอบางปลาม้า         10  กิโลเมตร
o อำเภอศรีประจันต์        21  กิโลเมตร
o อำเภอดอนเจดีย์            32  กิโลเมตร
o อำเภออู่ทอง                  32  กิโลเมตร
o อำเภอสามชุก                38  กิโลเมตร
o อำเภอเดิมบางนางบวช   52  กิโลเมตร
o อำเภอหนองหญ้าไซ      55  กิโลเมตร
o อำเภอสองพี่น้อง           69  กิโลเมตร
o อำเภอด่านช้าง              79  กิโลเมตร
ระยะทางติดต่อภายนอกเขตจังหวัด สามารถติดต่อได้ตามเส้นทาง ดังนี้
o สุพรรณบุรี - บางบัวทอง - กรุงเทพฯ  ระยะทาง  107  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - กำแพงแสน - นครปฐม - กรุงเทพฯ  ระยะทาง  160  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - นครปฐม  ระยะทาง  105  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - กาญจนบุรี  ระยะทาง  91  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - นครสวรรค์  ระยะทาง  160  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - พระนครศรีอยุธยา  ระยะทาง  68  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - สิงห์บุรี  ระยะทาง  84  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - ชัยนาท  ระยะทาง  96  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - อ่างทอง  ระยะทาง  44  กิโลเมตร
o สุพรรณบุรี - โคกสำโรง  ระยะทาง  143  กิโลเมตร
2.  การคมนาคมทางรถไฟ    มีขบวนรถไฟสาย กรุงเทพ - สุพรรณบุรี  ระยะทางยาว
ประมาณ   142   กิโลเมตร
               3. คมนาคมทางน้ำ   อาศัยลำน้ำต่าง ๆ  และแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีในการเดินเรือ และขนส่งถ่ายสินค้า

โทรศัพท์  จังหวัดสุพรรณบุรีมีชุมสายโทรศัพท์ทั้งสิ้น  17  ชุมสาย  จำนวนเลขหมาย
15,960  เลขหมาย  และมีจำนวนเลขหมายที่มีผู้เช่าจำนวน 15,568  เลขหมาย
การไปรษณีย์โทรเลข     จังหวัดสุพรรณบุรี     มีที่ทำการไปรษณีย์ทั้งสิ้น    17    แห่ง   มี
จำนวนไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสิ้น  4,397,551  ชิ้น


การท่องเที่ยว

  สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
pig001   

   กำแพง คูเมือง และประตูเมือง    ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน  ในเขตตำบล
รั้วใหญ่   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  ขณะนี้ยังเหลือแนวกำแพงดินและคูเมืองให้เห็นชัด   อยู่ในช่วงระหว่างเส้นทางจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปวัดป่าเลไลย์วรวิหาร  และประตูเมืองที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของกรมศิลปากร ตรงสถานที่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของประตูเมืองเดิม
 pig002

   ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ตามแนวถนนมาลัยแมน
ด้านหน้าดูเด่นเป็นสง่าด้วยรูปปั้นมังกรขนาดใหญ่   ตัวศาลเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์สลักนูนบนแท่นหินเขียวแท่งเดียวกัน    ลักษณะเทวรูปสวมหมวกเตอร์กที่ศาลแห่งนี้ประมาณวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 จีน จะมีงานทิ้งกระจาด (หรือพิธีทิ้งทาน)
 pig003

  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  ตั้งอยู่ที่ถนนสมภารคง   ตำบลรั้วใหญ่   อำเภอเมือง ฝั่ง
ตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน  ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ  เป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า  600  ปี  ปรางค์องค์ประธานศิลปก่อสร้างในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้  แต่ได้ถูกชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรม ไปมากพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก  อันเป็นหนึ่งใน "เบญจภาคี"   ก็ได้ไปจากกรุ ในองค์พระปรางค์นี้
 pig004

  พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  ตั้งอยู่ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์  ห่างจาก
จังหวัดประมาณ  31 ; กิโลเมตร  ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี  ปัจจุบันได้กำหนดให้วันที่   25  มกราคม  ของทุกปี  เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  ถือเป็นวันกองทัพไทย  พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ เฉลิมฉลองด้วย
 pig005

 สระศักดิ์สิทธิ์  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเสด็จ  ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี   เป็นโบราณชื่อสระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกศ  อยู่ติดกันเป็นหมู่ เดิมใช้น้ำในสระในการประกอบพิธีมูรธาภิเษก  และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน จัดตั้งเป็นโบราณสถาน
 pig006

         พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชาวนาไทย  ตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา  ในบริเวณสนามหน้า ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในจัดแสดงวิวัฒนาการ การทำนาของชาวนาแต่อดีต  ทั้งกรรมวิธี    และอุปกรณ์ที่ใช้รวมถึงจัดแสดงภาพจำลองเหตุการณ์พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ ได้ทรงทำปุ๋ยหมัก หว่าน เก็บเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์  ณ แปลงนาสาธิต บึงไผ่แขก  เมื่อปี  2529
 pig007

  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง  ตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภออู่ทอง  เป็นพิพิธภัณฑ์
ที่จัดแสดงศิลปวัตถุยุคสมัยต่าง ๆ ที่ค้นพบ  และวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคสมัยต่าง ๆ ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบสุพรรณบุรี เครื่องมือเครื่องใช้สมัยหินใหม่ ถึงสมัยสัมฤทธิ์ ศิลปะ  วัตถุสมัยศรีวิชัย 
ทวาราวดี    นอกจากนี้ยังมีเรือนพิพิธภัณฑ์ลาวโซ่ง อยู่ในบริเวณใกล้เคียง แสดงเครื่อง  มือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแบบดั้งเดิมของคนไทยกลุ่มนี้
 pig008

  วัดเขาดีสลัก  ตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินสีเขียว  มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบตามที่อื่น ๆ คือ เป็น รอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม. นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยทวาราวดี  อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 นอกจากนี้ยังพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิดกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ  และสร้างมณฑปบนยอดเขา  มองเห็นทุ่งโล่งกว้าง  และทิวเขาสลับซับซ้อนของอำเภออู่ทอง  และสร้างระฆัง 72 ใบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 72  พรรษา  ผู้สนใจประวัติศาสตร์และโบราณคดีน่าไปศึกษาอย่างยิ่ง
 pig009

  วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร   เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี    ตั้งอยู่
ที่ตำบลรั้วใหญ่  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  ปรากฎชื่อในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์องค์ใหญ่ สูงประมาณ  23.48 เมตร  ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต  ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลังใหญ่  หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียงมาก มีงานเทศกาลประจำปีสมโภช และ มนัสการหลวงพ่อโต ปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5  และเดือน 12
 pig010

วัดพระรูป    ตั้งอยู่ที่ถนนขุนช้าง  วัดนี้เป็นกรุ "พระขุนแผน"   ที่เลื่องชื่อ มีพระ
พุทธรูปปางไสยาสน์ ที่ถือว่าเป็นพระนอนที่มีพระพักตร์งามที่สุดในประเทศไทย มีเจดีย์สมัยอู่ทอง และรอยพระพุทธบาทจำลองสลักบนเนื้อไม้ขนาดกว้าง   74   เซนติเมตร  ยาว   221   เซนติเมตร
หนา  10  เซนติเมตร  ยาว  221  เซนติเมตร   หนา  10  เซนติเมตร  เป็นโบราณวัตถุที่หาค่าไม่ได้
ศิลป การแกะสลักงดงามมาก
 pig011

               วัดสนามชัย  ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จากหลักฐาน ตาม
พงศาวดารเหนือ ประมาณว่าวัดนี้สร้างปี พ.ศ.  1746  ปัจจุบันเป็นวัดร้าง  เหลือเพียงแต่ซากเจดีย์ด้านเหนือ จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบอัฐิและเถ้าถ่านเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าอัฐิธาตุของทหารที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามจึงเรียกขานกันว่า "สุสาน ทหารนิรนาม"  ปัจจุบันอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์

   แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ   
 pig012

 สวนเฉลิมภัทรราชินี  ตั้งอยู่บนถนนนางพิม  ตำบลท่าพี่เลี้ยง  อำเภอเมือง
สุพรรณบุรีเด่นตระหง่านด้วยหอคอยบรรหารแจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรก  และสูงที่สุดในประเทศไทย สูง  123.25  เมตร  ส่วนที่เป็นสวนงดงามด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ  นอกจากนี้ยังมีสวนน้ำ พร้อม
สไลเดอร์ สวนลายไทย สวนนกพิราบ สนามเด็กเล่น บ่อน้ำพุ
 pig013

 สวนนกท่าเสด็จ  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเสด็จ  ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นแหล่งธรรมชาติที่มีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนนับหมื่นตัว  เช่น  นกยาง  นกกระสา  นกแขวก นกปากห่าง  นกกาบบัว  และนกกุลาขาว เป็นต้น  ตอนเย็นนกเหล่านี้จะบินกลับรังจนมืดฟ้ามัวดิน เป็นธรรมชาติที่น่าชมมาก  ขณะนี้กรมป่าไม้ได้จัดตั้งเป็นหน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ  มีเจ้าหน้าที่ประจำ และสร้างหอดูนกไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมธรรมชาติ ช่วงที่มีนกมาก คือช่วงเดือนตุลาคม
 pig014

                      หมู่บ้านควาย  และบ้านทรงไทย  อยู่ในอำเภอสามชุก หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาไทย  การแสดงของควายไทยตั้งอยู่ริมถนนสายสุพรรณบุรี-ชัยนาท  ประมาณ  20 ก.ม. จากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
   pig015                

 บึงฉวาก (บึงบัวแดง)  อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช และเป็นเขตติดต่อกับ
อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท  เป็นบึงขนาดใหญ่มาก  มีเนื้อที่ประมาณ  2,700  ไร่  อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช  ประมาณ  1,700  ไร่  ในบริเวณบึงเต็มไปด้วยบัวแดง  และมีนก เป็ดน้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

 บึงหนองจอก  อยู่ที่ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ มีเนื้อที่ประมาณ  78  ไร่ นอกจากเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพาะพันธุ์ปลา

          อ่างเก็บน้ำกระเสียว  ตั้งอยู่ที่  หมู่  4   ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง   เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำห้วยกระเสียวยาว  4,250  เมตร  สูง  32.5  เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ  28,750  ไร่ เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่  รวมทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์งดงาม

          วนอุทยานพุม่วง  อยู่ในเขตตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  ที่ราบเชิงเขาเป็นที่ตั้ง คอกช้างดินสมัยทวาราวดี  มีถนนขึ้นเขา  ผ่านวัดเขาถ้ำเสือ ซึ่งมีกรุพระเครื่องถ้ำเสืออันลือชื่อ และผ่านเลยไปยังที่ทำการวนอุทยาน  ธรรมชาติประกอบด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด  เช่น จันทร์กระพ้อ  จันทน์ผา  ปรงเผือก  และยังมีสวนหินอันสวยงามอีกด้วย
pig017

              วนอุทยานแห่งชาติพุเตย  ตั้งอยู่ที่อำเภอด่านช้าง มีเนื้อที่กว่า 2 แสนไร่ จุดที่ น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติแห่งนี้  มีทั้งป่าเขา  ถ้ำ  และน้ำตก  เขาพุเตยอยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล 763 เมตร มีป่าสนสองใบ ในพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งโดยปกติมักขึ้นบนภูเขาที่มีอากาศหนาวเย็น เป็นป่าที่สวยงามและมีแห่งเดียวในภาคกลาง นอกจากนี้ยังมีถ้ำ คือ ถ้ำนาค ถ้ำหมีน้อย ถ้ำย้อยระย้า และถ้ำผาใหญ่ และน้ำตกอีก 4 แห่ง คือ น้ำตกตาด ในตำบลห้วยขมิ้น น้ำตกพุกระทิง ตำบลองค์พระ น้ำตกตะเพินคี่น้อย น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่


งานประเพณี และศิลปะท้องถิ่น


pig018

 ประเพณีกำฟ้า  เป็นประเพณีของผู้สืบเชื้อสายไทยพวนในเขตอำเภอบางปลาม้า
แถวตำบลมะขามล้ม วัดโบสถ์ โพธิ์ศรี  เป็นการบูชาเพื่อให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล  งานจะมี ในวันขึ้น 3 ค่ำ และ 7 ค่ำ  เดือนกุมภาพันธ์ ชาวบ้านจะหยุดทำงาน และเตรียมอาหาร นำไป ถวายพระ กลางคืนจะมีงานเลี้ยงฉลอง


pig019

 ประเพณีตักบาตรเทโว  เป็นการทำบุญตักบาตร  ในเทศกาลออกพรรษา  ในวัน
แรม  1  ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม)  ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีขึ้นที่วัดหัวเขา  วัดกำมะเชียร อำเภอเดิมบางนางบวช  วัดเขาพระ  อำเภออู่ทอง  วัดวรจันทร์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้าน นิยมทำขนมต้ม ลูกโยน ใส่บาตรให้กับพระสงฆ์

 

 ประเพณีบุญบั้งไฟ  จัดขึ้นในหมู่ผู้สืบเชื้อสายไทยพวน ไทยเวียง อำเภอบางปลา
ม้า แถบตำบลวัดโบสถ์ มะขามล้ม โพธิ์ศรี และกกม่วง อำเภออู่ทอง แถบตำบลบ้านโข้ง บ้านขาม ดอนคา จร้า และหนองโคก เป็นประเพณีสืบทอดมาจากความเชื่อเรื่องบั้งไฟเสี่ยงทายให้ฝนตก ต้องตามฤดูกาล  มีการจัดทำบั้งไฟ แห่แหนไปวัดและยิงบั้งไฟที่วัด  งานจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณเดือนพฤษภาคม)
 


pig020

 งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์  จัดขึ้น ณ บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอ
ดอนเจดีย์ ในบริเวณงานจะจัดให้มีการแสดง แสงเสียงยุทธหัตถีชนช้างเทิดพระเกียรติสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช การออกร้านของหน่วยราชการ  อำเภอ  และภาคเอกชน  รวมทั้ง การแสดงมหรสพต่าง ๆ งานนี้จะจัดในช่วงปลายเดือนมกราคม ของทุกปี

 งานเทศกาลทิ้งกระจาด  เป็นประเพณีตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
นิกาย มหายานของชาวไทยเชื้อสายจีน  ถือเป็นการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่คนยากจน  ประเพณีนี้จะเริ่มในราวเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี  สถานที่จัดงานตั้งแต่สมาคมตงฮั่วฮ่วยกวง จนถึงด้านหลังเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


pig021

 วัดประตูสาร  ตั้งอยู่ถนนขุนช้าง เป็นวัดเก่าแก่สร้างก่อนปี พ.ศ.2379 ปีที่สุนทรภู่มา
สุพรรณบุรีภายในอุโบสถมี จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างหลวงเขียนราว พ.ศ.2391 มีจิตรกรรมบนแผ่นไม้สักเรื่องราวพุทธประวัติและมหาชาติ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในวิหาร
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
  พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น)   ตั้งอยู่ในวัดสุวรรณภูมิ ตรงข้ามศาลากลาง
จังหวัด(เก่า) เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทย 2 ชั้น ภายในตั้งแสดงโบราณวัตถุ เครื่องประดับ ของใช้สมัยต่าง ๆ ที่สำคัญมี คณโฑ และบาตรสังคะโลก ค่าล้ำ และมีเพียงหนึ่งในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อแสดงโบราณวัตถุ และเพื่อบูชาคุณสมเด็จพระสังฆราช
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig022

  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ   ตั้งอยู่ถนนสมภารคง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ มี
พระปรางค์เป็นประธาน ทรวดทรงแผกกว่าพระปรางค์องค์อื่น มีอายุก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา พบลานทองจารึกจากยอดพระปรางค์ มีอายุก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ระบบประวัติการสร้างและการซ่อมพระปรางค์องค์นี้เป็นกรุพระพิมพ์ "ผงสุพรรณ" อันเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคี นอกจากนี้ยังมีเจดีย์สมัยอู่ทองอีกสององค์ พระพุทธไสยาสน์สององค์ พระพุทธรูปหินทรายศิลปะอู่ทองจำนวนนับร้อย
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig023-1pig023-2

  วัดพระรูป  ตั้งอยู่ถนนขุนช้าง วัดนี้เป็นกรุ "พระขุนแผน" ที่เลื่องชื่อ มีพระพุทธ
ไสยาสน์ศิลปะอู่ทองปลายงามเป็นยอด เจดีย์สมัยอู่ทอง และรอยพระพุทธบาทไม้จำลองชิ้นเดียวของโลก เป็นศิลปะอู่ทอง ปัจจุบันตั้งแสดงบนหอสวดมนต์ มีผู้กล่าวกันว่ามาสุพรรณ ถ้าไม่ได้มาเห็นรอยพระพุทธบาทนี้เหมือนไม่ได้มาสุพรรณ
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

 pig024
  พิพิธภัณฑ์   พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชาวนาไทย   ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลาง
จังหวัด(เก่า) ที่ว่าการอำเภอเมืองปัจจุบัน เป็นอาคารคอนกรีต ภายในตั้งแสดงเครื่องมือ อุปกรณ์ และภาพเหตุการณ์ทุกขั้นตอนที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมารทรงทำปุ๋ยหมัก หว่าน เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยพระองค์ ณ แปลงนาสาธิตบึงไผ่แขก เมื่อปี พ.ศ.2529 นอกจากนี้ยังตั้งแสดงวิวัฒนาการการทำนาของชาวนาแต่อดีต ทั้งกรรมวิธี และอุปกรณ์ที่ใช้
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig025

  สวน สวนเฉลิมภัทรราชินี, หอคอยบรรหาร-แจ่มใส  เป็นสวนสาธารณะบนเนื้อที่
17 ไร่ ใจกลางเมืองสุพรรณ สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสครบ 60 พรรษา บริเวณสวนสวยงามแวดล้อมด้วยธรรมชาติ ไม้ดอกไม้ใบนานาพรรณ ตกแต่งสวนหย่อมและสวนลายไทย มีสวนน้ำพุ ธารน้ำตก สไลเดอร์ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่นเพื่อการพักผ่อน มีร้านอาหารบริการ และสถานที่จอดรถสะดวกสบาย
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig026

  ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชา ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  ตั้งอยู่ถนนไร่ฝ้าย เดิม
เรียก "ศาลเทพารักษ์หลักเมือง" ตัวศาลเป็นอาคารทรงไทย ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ สลักนูนบนแท่งหินเขียวแท่งเดียว ลักษณะเทวรูปสวมหมวกเติร์ก ปัจจุบันมีการสร้างอาคารหลังใหญ่คร่อมอาคารทรงไทยไว้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวสุพรรณนับถือกันมาก มีพิธีแห่อัญเชิญเจ้าพ่อและงานทิ้งกระจาดทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของจีน
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig027

  หอสูง (Tower) หอคอยบรรหาร-แจ่มใส   มี 4 ชั้น สูง 123.25 ม. กว้าง 30 ม. สร้างขึ้นโดยมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อาคารชั้นล่าง ชมภาพจิตรกรรมขุนช้าง-ขุนแผน และเลือกซื้อของที่ระลึก อาคารชั้น 2 พักผ่อนในมุมอาหารว่าง เครื่องดื่ม อาคารชั้น 3 จำหน่ายของที่ระลึก ของฝากและชมภูมิทัศน์รอบบริเวณ อาคารชั้น 4 มีบริการกล้องส่องทางไกลในการชมภูมิทัศน์ของจังหวัดสุพรรณและจังหวัดใกล้เคียง ภายในอาคารมีภาพพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และภาพสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig028-1pig028-2pig028-3

  วัดป่าเลไลย์วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน เดิมชื่อ "วัดลานมะขวิด" เป็นวัดเก่าแก่
คู่บ้านคู่เมือง ปรากฎชื่อในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์องค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียก "หลวงพ่อโต" นับถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารสูงตระหง่าน หน้าบันพระวิหารมีพระราชลัญญากรรัชกาลที่ 4 หน้าวิหารมีเจดีย์มอญ
ตำบลตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig029

  ภูเขา ป่า อุทยานวัดแด   เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยอยุธยา ราว 450-490 ปี มีชื่อ
ปรากฎในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน พ.ศ.2310 ต้องพบกับสงคราม ไทยรบกับพม่า เพราะภัยสงครามทำให้ราษฎรเดือดร้อนไปทั่ว บ้านและวัดรกร้างว่างเปล่า ต่อมาปี พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสวัดแค
ตำบลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig030-1pig030-2pig030-3

 โบราณวัตถุ  คุ้มขุนแผน  เป็นเรือนไทยทรงโบราณ สร้างเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2525
ใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีร่วมบริจาคสมทบ สร้างเพื่อเป็นอุทยานวรรณคดี และตู้ไม้สักเป็นตู้ไม้สักสำหรับใส่ใบลาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้แก่อาจารย์กันต์ เมื่อปี 2412 มีระฆังทองเหลือง มี 2 ใบ ลวดลายศิลปรัตนโกสินทร์ ใบหนึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 21.5 นิ้ว สูง 30 นิ้ว อีกใบหนึ่งกว้าง 20.5 นิ้ว สูง 27 นิ้ว  หม้อต้มกลักทองเหลือง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปาก 20.5 นิ้ว สูง 13 นิ้ว มีหูหิ้วสองข้าง สำหรับพระใช้ย้อมจีวรด้วยกลัก (สีน้ำตาลไหม้) ในสมัยโน้นมีหินบดยาใช้บดยา สมัยอยุธยา   เป็นการอนุรักษ์ศิลปทางวรรณกรรม และประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และยังมีวัด  ต้นมะขามยักษ์  วัดโดยรอบประมาณ 8.4 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาออกกว้างประมาณ 10-15 (กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า ต้นมะขามยักษ์ต้นนี้แหละที่เณรแก้วเอาใบมาเสกเป็นตัวต่อ สอดคล้องกันเป็นอย่างดี ประมาณอายุ 1,000 ปี
ตำบลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig031

           วัดพระลอย   อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ห่างจากจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในวัดมีอุโบสถ์จตุรมุขใหญ่ สูงเด่นสง่างาม มีพระพุทธนวราชมงคล สวยงามมาก และมีพระพุทธรูปเนื้อหินปนทรายปางต่าง ๆ
ตำบลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig032

   ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชา  พระพุทธบาทสี่ร้อยเป็นพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่สร้างด้วยทองเหลือง ทาทองเหลืองอร่าม ฝีมือประณีต งดงามภายในรอยฝ่ากระบาทรอยซ้อนกันถึง 4 ชั้น มีขนาดต่างกัน
ตำบลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig033

       วัด เขาวงกต แม่ชีลอยน้ำ  ภายในบริเวณวัดพระลอยมีการสร้างเขาวงกตไว้สำหรับนักท่องเที่ยวได้เดินอีกด้วย และยังมีแม่ชีลอยภายในน้ำให้ชม เป็นการทำสมาธิบนผิวน้ำ ซึ่งหาชมได้ยากแล้ว จิตต้องนิ่ง มีสมาธิจึงจะสามารถครองตนอยู่ได้บนผิวน้ำ
ตำบลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
     
 


pig034

      วัดมะนาว     วัดมะนาวเป็นวัดที่มีความเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 140 ปี ไม่ต่ำกว่ารัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดมะนาวมีวิหารเล็กเก่าแก่ (ปัจจุบันรื้อแล้ว) อยู่ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณใต้ตัวตลาดไป
ตำบลตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig035-1pig035-2

      วัดมะนาว (หลวงพ่อโบ้ย) หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระภิกษุที่บริการสังคม โดยมิหวังผลตอบแทนไม่เลือกที่รักมักที่ชังในการปฏิบัติ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว จนกระทั่งวาระสุดท้ายท่านมรณะภาพแล้ว ท่านมิได้มีสิ่งมีค่าเหลืออยู่เลย ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านอยู่ยงคงกระพัน ลงยันต์เป็นที่เลื่องลือ การรดน้ำมนต์เพื่อผลทางจิตใจ ประชาชนให้ความเชื่อถือว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ มีการสร้างวัตถุมงคล พระเครื่องจำนวน 20 พิมพ์   ซุ้มประตูทางเข้าวัด  เป็นบริเวณสวนป่าธรรมชาติที่ร่มรื่น สวยงาม มีสวนดอกไม้ และไม้ประดับสนามหญ้า และมีจุดชมวิวทิวทัศน์ และความงามของวัด
ตำบลตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig036

   ของฝาก   ขนมสาลี่สุพรรณ    เป็นขนมของฝาก พัฒนามาจากขนมถ้วยฟู แต่เนื้อ
ละเอียด นุ่ม หอมกว่าขนมถ้วยฟู มี 4 รส คือ ใบเตย, กาแฟ,นมแมว, มะลิ ผลิตโดย บริษัทเอกชัย-สาลีสุพรรณจำกัด
ตำบลตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig037

   วัด  พระอุโบสถกลางน้ำ   ในวัดจะมีพระอุโบสถอยู่กลางน้ำรูปจตุรมุข มีความสง่า
งาม และที่สำคัญ ตั้งอยู่กลางน้ำ ในพื้นที่ 5 ไร่ เศษ มีพันธุ์ปลานานชนิด เหมาะแก่การมาพักผ่อนหย่อนใจ
ตำบลตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

   วัดดอนตาล     เป็นวัดที่เก่าแก่ มีศาลาการเปรียญที่สวยงามและมีขนาดใหญ่ เด่น
เป็นสง่า สะดุดตาต่อผู้ที่พบเห็น มีพระปั้นที่เด่น มีรูปหล่อพระเกจิให้สักการะบูชา เป็นวัดคู่ชุมชน
ตำบลตำบลดอนตาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig038

   บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อน  บึงลาดกระจับ    เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาแต่โบราณ มีปลาชุกมาก ประชาชนให้เป็นแหล่งสารอาหารโปรตีนที่สำคัญของตำบลดอนตาล เป็นแหล่งน้ำใช้เพื่อการเกษตร เป็นจุดพักน้ำ ป้องกันน้ำท่วมตำบล และหมู่บ้าน อนาคตจะพัฒนาเป็นสถานที่พักฟื้นบ้านพักผู้สูงอายุ
ตำบลตำบลดอนตาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig039

  วัดไผ่เกาะโพธิ์งาม    วัดไผ่เกาะโพธิ์งามเป็นวัดที่อยู่ศูนย์กลางตำบลในบริเวณวัดมี
อบต.ดอนตาล สถานีอนามัยดอนตาล ประปาหมู่บ้านและโรงเรียนระดับประถมและมัธยมขยายโอกาสด้วย มีสถานที่กว้างขวางมากเป็นจุดประสานงาน (ประชุม) ระดับตำบลที่สำคัญ
ตำบลตำบลดอนตาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig040

  วัดไทรงาม   เป็นที่อยู่ติดถนนสายสุพรรณฯ-อ่างทอง มีพระสงฆ์-นางชี มาวิปัสนา
กรรมฐานเป็นจำนวนมาก และสามารถที่คนธรรมดาหรือฆราวาสมาวิปัสนากรรมฐานได้ด้วย มีกุฏิเฉพาะบุคคลให้จำพรรษา-ทำวัต เป็นวัดที่ร่มเย็นเพราะมีต้นไม้และต้นไทร เป็นจำนวนมากมีโบสถ์ที่สวยงาม และศาลาการเปรียญที่ขนาดใหญ่
ตำบลตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

pig041

  วัดลาดตาล    เป็นวัดที่อยู่ติดถนนสายสุพรรณฯ-อ่างทอง อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “
วัดสองเขต” เป็นวัดที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากแต่เดิม พระเคยมีพระเกจิฯมีชื่อเสียงเคยมาจำพรรษามาก่อน เป็นวัดที่มีศาลาการเปรียญที่สวยงามและมาตรฐานเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง (มีเจ้าอาวาสที่เป็นนักพัฒนาฯและมีประชาชนให้ความนับถือมากที่สุดระดับจังหวัด)
ตำบลตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig042-1pig042-2

  อุทยานมัจฉาวัดพระนอน    วัดพระนอนเป็นวัดเก่าแก่สมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ ใน
วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ซึ่งมีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือพระนอนในลักษณะนอนหงายเท่าคนโบราณ
ตำบลตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig043-1pig043-2

  วัดหน่อพุทธางกูร   ภายในโบสถ์ของวัดจะมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งบรรยาย
เกี่ยวกับพุทธประวัติที่สำคัญทางศิลปและวัฒนธรรม
ตำบลตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig044

  วัดดอนโพธิ์ทอง   ปี 2486 หลวงพ่อฮวดได้สร้างวัดพื้นที่เป็นป่าและไร่นาปนกัน
บริเวณวัดเป็นดอนมีต้นโพธิ์ใหญ่ 3 ต้น ตั้งซื่อวัดว่าวัดดอนโพธิ์ทอง เป็นโบราณสถานที่มีอายุเกือบ 100 ปี สวยงาม ร่มรื่นน่าเข้ามาเยี่ยมชม
ตำบลตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig045-1pig045-2

  แม่น้ำ ลำคลอง ตลาดน้ำ  บึงบ้านโพธิ์ (คลองพันตำลึง)  เป็นคลองที่ไหลผ่าน หมู่
1,2,3,7 และ 8 เป็นคลองขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านมาหลายตำบล เป็นแหล่งอนุรักษ์บำรุงรักษาเพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำไว้กินและใช้ทางด้านการเกษตร ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์และพัฒนาบึงบ้านโพธิ์ให้เป็นแหล่งผักผ่อนและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยเฉพาะวันหยุดราชการต่าง ๆ
ตำบลตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig046

  สวนนกท่าเสด็จสวนสัตว์    ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.สระแก้ว เป็นที่ดินของเอกชนที่
ยินยอมให้นกอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะมีนกมาจากประเทศไซบีเรียมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ตำบลตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig047

  ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชาสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่    ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ต.
สระแก้ว ประกอบด้วย สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกตุ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณหลายร้อยปี เมื่อ พ.ศ.2452 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตำบลตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig048

  วัดเขาดิน   เป็นวัดที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ต.สระแก้ว มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มี
ชาวบ้านนิยมไปอธิษฐานจิต เพื่อเสี่ยงทายตามความเชื่อแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
ตำบลตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig049

  วัดสระแก้วศรีสรรเพร็ช   ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.สระแก้ว ลักษณะการก่อสร้างเป็นศิลปะ
คล้ายสมัยพุทธกาล มีวิหารคต ความยาวประมาณ 1 กม.
ตำบลตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig050

  บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อน  บึงลาดตาค่อน   เป็นน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งน้ำใช้เพื่อการเกษตรที่สำคัญของตำบลบางกุ้ง และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญพร้อมทั้งสามารถที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลในอนาคต

ตำบลตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
  วัดอัมพวนาราม (วัดบางกุ้งใต้)   เป็นวัดที่เก่าแก่มากเป็นศูนย์กลางของตำบลบาง
กุ้งที่สำคัญ พิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ก็จะประกอบกิจกรรมกันที่นี่เป็นหลัก โดยเฉพาะประเพณี “ไทยทรงดำ” เป็นประจำของทุกปี 8 เม.ย.
ตำบลตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig051

  วัดบางกุ้งเหนือ   เป็นวัดประจำหมู่บ้านบางหมัน ม.4 และตำบลข้างเคียง
(สระแก้ว) เป็นวัดที่อยู่ติดลำคลอง มีความร่มรื่นมาก เหมาะสำหรับกรรมฐาน หาความสงบจิตใจเป็นอย่างยิ่ง
ตำบลตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig052

  งานประเพณี งานกีฬาต่างๆ  ประเพณีไทยทรงดำ   ไทยดำ หรือไทยทรงดำ ได้ถูก
กวาดต้อนครอบครัวลงมาอยู่ประเทศไทย 3 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2322 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) พ.ศ.2335 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1 ) และในปี พ.ศ.2381 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) แห่งราชวงศ์จักรี การกวาดต้อนครอบครัวไทยดำ นำมาไว้ที่จังหวัดเพชรบุรี
ตำบลตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig053

  วัดสนามชัย   ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า
พระเจ้ากาแต ให้มอญน้อยมาสร้างวัดสนามชัย พร้อมกับบูรณะพระป่าเลไลยก์ ประมาณว่าวัดนี้สร้างก่อน พ.ศ.1746 มีซากเจดีย์ใหญ่ กำแพงแก้วเจดีย์บริวารสี่ทิศ มีอุโบสถ จากการตรวจค้นเจดีย์ใหญ่ พบอัฐิธาตุที่เผาแล้วเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นกระดูกทหารที่เสียชีวิตในสงครามครั้งสำคัญ จึงเรียกขานกันว่า "สุสานทหารนิรนาม" ปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรี ได้อนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาประวัติศาสตร์
ตำบลตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig054

  วัดพร้าว    วัดพร้าวเป็นวัดที่เก่าแก่มากติดกับประตูน้ำโพธิ์พระยา ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 9 กิโลเมตร มีโบราณวัตถุถึงสมัยอยุธยา และสมัยอู่ทองตอนปลายคือใบเสมาหินทรายแดงสมัยอยุธยา และพระพุทธรูปหินทรายสมัยอู่ทองตอนปลาย หาชมได้ยาก นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ และน่าศึกษามาก
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig055

  แม่น้ำ ลำคลอง ตลาดน้ำ  แม่น้ำท่าจีนหน้าวัดพร้าว  เป็นแม่น้ำสายหลักของ
ชาวบ้านในการใช้ทำการเกษตร และใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้ได้มีการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน โดยกลุ่มประชาชนในตำบลโพธิ์พระยา และตำบลใกล้เคียงเพื่อรักษาแม่น้ำให้ใสสะอาด เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของปลานานาพันธุ์ หลังจากมีการสร้างเขื่อน (ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา) ก็ทำให้แม่น้ำทาจีนเปลี่ยนเส้นทางเดินของน้ำ แต่ก็ไปบรรจบกันกับแม่น้ำเส้นเดิม ทางประมงได้มาส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านโดยการสนับสนุนให้เลี้ยงปลาในกระชัง โดยกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 30 คน ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่ม
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig056

  แม่น้ำ ลำคลอง ตลาดน้ำ   วังมัจฉา  วังมัจฉา มีอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ได้แก่ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ฯลฯ ให้ประชาชนได้มาศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig057

  อนุสาวรีย์    รูปหล่อหลวงพ่อพริ้ง   รูปหล่อหลวงพ่อพริ้งขนาดเท่าตัวจริง เป็นที่
เคารพสักการะของประชาชน และผู้เข้ามาเที่ยวชมวัด เพราะในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านทำประโยชน์มากมาย และทำแต่ความดี จนกระทั่งมรณภาพ สมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า "พุทโธ่ หมดคนดีเมืองสุพรรณไปเสียคนหนึ่ง เสียดายจะได้ไปเป็นพระราชาคณะปีนี้"
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig058

  ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชา  เจดีย์จุฬามณีย์   เป็นเจดีย์ที่มีความงดงาม
และไม่เหมือนเจดีย์โดยทั่วไป มีฐานกว้างเท่ากัน 4 ด้าน ประกอบกับมีเจดีย์เล็กๆ รอบทุกด้านองค์พระเจดีย์จุฬามีณีย์เป็นสีขาวสูงใหญ่ ภายในเจดีย์หล่อด้วยทองเหลือง รวมเจดีย์ที่อยู่รอบๆ พระเจดีย์จุฬามณีย์ จำนวน 30 องค์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2456
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig059

  โบราณวัตถุ  เรือมาดเก๋งสีแจวอายุ 81 ปี  เรือมาดเก๋งสี่แจว อายุประมาณ 81 ปี เรือเก๋งเครื่องยนต์ อายุ 76 ปี เรือยาวต่อด้วยไม้สักยาว 8 เมตร
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig060

  วัดพร้าว (วิหาร)  ภายในวัดมีวิหารเลียนแบบสถาปัตยกรรมพม่า เป็นที
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ตู้พระธรรม ซึ่งเป็นสมบัติที่ควรค่าแก่การรักษา และให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig061

  วัดพร้าว (ต้นยางใหญ่ที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่)  ภายในวัดมีต้นยางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่จำนวนนับแสนตัว สมกับเป็นวัดที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ไม่มีใครรบกวนค้างคาวซึ่งนับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่มาเที่ยวชมเป็นยิ่งนัก
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig062

  วัดพร้าว (หอไตรกลางน้ำ)   ภายในวัดมีหอไตรซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำสวยสดงดงาม
และน่าชื่นชม แปลกตา และในบริเวณวัดมีวิหาร 2 มณฑป 5 ศาลา 1 วิหาร หมายถึง วิหารมีหลังคา 2 ชั้น มณฑป มีหลังคา 5 ชั้น และศาลาหลังคา 1 ชั้น ซึ่งตามตำราของวัดแล้ว ถูกต้องตามตำราของวัดโดยแท้ซึ่งหาชมได้ยาก
ตำบลตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig063

ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig064

  วัดเดิมบางนางบวช

ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig065

  บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อน    สภาพเดิมของบึงฉวาก เป็นบึงที่เคยสมบูรณ์เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้น้ำหลายชนิดได้แก่ บัวพันธุ์ต่างๆ เช่น บัวแดง บัวหลวง บัวเผื่อน เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ นกต่างๆ และนกน้ำบางชนิด เช่น นกเป็ดน้ำ นกเป็ดก่า และนกเป็ดผี อีกทั้งมีผู้พบเห็นโครงการดูกของจระเข้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเดิมบึงฉวากเป็นแหล่งน้ำที่กว้างขวาง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำต่างๆ มากมาย บึงฉวากขาดการบูรณะ ปรับปรุงมาเป็นเวลานาน ทำให้มีสภาพรก และตึ้นเขิน วัชพืชขึ้นหนาแน่นเต็มบึง
ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig066

  บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อน   ในฤดูแล้งน้ำในบึงมีปริมาณน้อย ประกอบกับ
ปริมาณน้ำฝนมีน้อย และเกษตรกรโดยรอบบึง มีการสูบน้ำจากบึงฉวาก เพื่อมาใช้ทำนา มีผลทำให้คุณภาพน้ำลดลง ขอบบึงโดยรอบมีสภาพตื้นเขิน น้ำในบึงฉวากบางส่วนแห้งมีผลกระทบทำให้สัตว์น้ำขาดน้ำตาย เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่น่าวิตกว่าพันธุ์ปลาบางชนิดที่หายากอาจสูญพันธุ์ได้
ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig067

  บริเวณโดยรอบบึงฉวาก มีราษฎรประมาณ 340 ครอบครัว ประชากรประมาณ 800 คน รวม 4 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านแหลมหว้า หมู่บ้านแหลมสะแก หมู่บ้านบึงฉวาก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี และหมู่บ้านหัวกระวัง อ.หันคา จ.ชัยนาท ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และหารายได้จากการจับปลา เก็บหาผักในบึง อีกทั้งยังได้ใช้น้ำในบึงเพื่อประโยชน์ในการทำการเกษตรเลี้ยงสัตว์ และอุปโภคตลอดมา ในปี 2542 บึงฉวากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wet Land) ที่มีความสำคัญระดับประเทศ ของประเทศไทย

ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig068

  โครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ เป็นปีที่ 50 บึงฉวาก เดิมเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่อยู่ห่างจากอำเภอเดิมบางนางบวช ประมาณ 10 ก.ม. ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะ 3 ตำบล คือ ต.เดิมบาง ต.ปากน้ำ และต.หัวเขา ในอ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี และต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท ความยาวโดยรอบบึงประมาณ 15 ก.ม. เป็นพื้นที่ประมาณ 1,550 ไร่ บึงฉวากมีทางรับน้ำ ธรรมชาติจากคลองธรรมชาติบ้านเชี่ยนและคลองบางลี่ อ.หันคา จ.ชัยนาท และจากคูส่งน้ำ ซึ่งกักน้ำมาจากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสามารถผันน้ำจากแม่น้ำท่าจีนผ่านต.ปากน้ำ อ.เดิมบางนางบวช
ตำบลตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig069

  วัดเขาดิน   วัดเขาดิน เป็นวัดที่สร้างขึ้นบนเนินเขา บริเวณหมู่ที่ 1 ห่างจากถนน
สายสุพรรณบุรี – สิงห์บุรี ประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 นาที
ตำบลตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig070

  วัดหัวเขา   ทุกปีในเทศกาลออกพรรษาวัดหัวเขาร่วมกับราษฎรในพื้นที่อำเภอเดิม
บางนางบวช และหน่วยงานราชการในอำเภอจะจัดประเพณีตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนทั่วทุกสารทิศจะมากราบไหว้มณฑปหลวงพ่ออิ่มพระผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของประชาชน
ตำบลตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig071

  วัดอู่ตะเภา   มีโบสถ์เก่าแก่เป็นลักษณะรูปเรือสำเภาสมัยโบราณเป็นที่นับถือ
สักการะของคนทั้งตำบลซึ่งเชื่อกันว่าเป็นโบสถ์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อยู่ใกล้กับอู่จอดเรือของพ่อค้าสมัยนั้น จึงมีชื่อว่า วัดอู่ตะเภา
ตำบลตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig072

  ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชา  ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ราษฎรในตำบลบ่อกรุ
ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในตำบลนี้เป็นเวลา 100 กว่าปี ตอนอพยพมาได้เดินทางผ่านป่าไม้ที่มีดงทึบมาก ราษฎรจึงได้จัดเครื่องเซ่นไหว้สักการะเจ้าที่เจ้าทาง จนเป็นที่เคารพของราษฎรในตำบล ดังนั้นจึงได้สร้างศาลไว้เป็นที่สักการะเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม" พร้อมทั้งจัดประเพณีกราบไหว้ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามเป็รประจำทุกปี โดยจัดขึ้นในเดือน 7 แรม 2 ค่ำ (ยกเว้นวันพุธและวันพระ) ซุ่งราษฎรในตำบลจะนำเครื่องเซ่นไหว้คาวหวานมาสักการะเป็นประจำทุกปี
ตำบลตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig073

  หลวงปู่ดำวัดบ่อกรุ   หลวงปู่ดำสมัยยังเป็นฆราวาสมีชื่อว่า นายดำ กาฬภักดี เมื่อ
อายุครบ 20 ปี ได้บวชเป็นพระที่วัดบ่อกรุ เมื่อหลวงปู่ดำบวชได้ 20 กว่าพรรษาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ ท่านได้พัฒนาวัดโดยสร้างโบสถ์หลังแรกของวัด และยังท่านมีความรู้ด้านสมุนไพร จึงได้รักษาโรคต่าง ๆ ให้กับญาติโยม จึงเป็นที่เคารพนับถือของราษฎรทั่วไปในตำบล เมื่อท่านอายุได้ 70 พรรษาจึงได้มรณะภาพที่วัดบ่อกรุ ราษฎรชาวตำบลบ่อกรุจึงได้สร้างรูปหล่อทองเหลือง ขนาดเท่าองค์จริงไว้เป็นที่สักการะบูชาต่อไป
ตำบลตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig074

  วัดโพธิ์ทอง   เป็นวัดประจำตำบลวังศรีราช ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านโพธิ์ทอง มีศาลาไม้
เป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ นับร้อยปีตามอายุการก่อตั้งของตำบล มีโบสถ์ 1 หลัง ขณะนี้กำลังบูรณะปฏิสังขรณ์เมรุ ภายในบริเวณร่มรื่นและมีสัตว์สวยงามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนของราษฎรวังศรีราช และประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา
ตำบลตำบลวังศรีราช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig075

  วัดป่าสระแก   เป็นวัดประจำตำบล มีประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งตำบลป่า
สะแก ตั้งอยู่กลางชุมชน มีบริเวณกว้างพอสมควร เจ้าอาวาสองค์แรก ชื่อหลวงพ่ออุ้ด พลวงพ่อเพชร หลวงพ่อราม หลวงพ่อกัณหา ตามลำดับ คนปัจจุบันคือ พระครูโกวิท ศิลวัฒน์ ปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างวัดสังเวท ขนาดใหญ่
ตำบลตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig076

  โบสถ์โบราณวัดขวางเวฬุวัน  ตั้งอยู่ภายในพื้นที่วัดขวางเวฬุวัน ลักษณะแตกต่าง
จากโบสถ์ทั่วไป มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในสมัยอดีตกาลทำสงครามไทยกับพม่า เป็นโบราณวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของตำบลป่าสะแก โบสถ์โบราณ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ 5 บ้านทุ่งก้านเหลืองซึ่งเป็นแหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมบวชโบราณ
ตำบลตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


pig077-1pig077-2

  วัดเขาทับหมี  ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.12 ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เป็น
ที่ที่ใช้ศึกษาพระพุทธศาสนาและเป็นที่พักผ่อนแก่บุคคลทั่วไป

ตำบลตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig078

  ภูเขา ป่า อุทยาน   อุทยานแห่งชาติพุเตย  เดิมประกาศเป็นวนอุทยานพุเตย และวนอุทยานพุกระทิง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์สวยงาม มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 307 ตร.กม. โดยรวมพื้นที่ ต.ห้วยขมิ้น ต.วังยาว ต.องค์พระ และต.ด่านช้าง(บางส่วน) มีน้ำตกสวยงาม เป็นจุดที่สูงที่สุดของจังหวัด สถานที่ตั้ง และติดต่อ ตู้ปณ 19 อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี 72180
ตำบลตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig079

แหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยาน มีถ้ำพุเตย มีถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เช่น ถ้ำนาคี ถ้ำหมีน้อย ถ้ำย้อยระย้า และมีน้ำตกขนาดใหญ่ คือ น้ำตกตะเพินคี่ นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านตะเพินคี่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ และวิธีชีวิตดั้งเดิมไว้ได้อย่างครบครัน
ตำบลตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  อุทยานแห่งชาติพุเตย   หน่วยพิทักษ์อุทยานที่ 1 (พุเตย) ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอ
ประมาณ 33 กม. และมีแหล่งท่องเที่ยวดังนี้ คือ ป่าสน 2 ใบ ถ้ำย่อยระย้า และศาลเลาดาห์
ตำบลตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig080

 ธรรมชาติ   ถ้ำเวฬุวัน เป็นถ้ำที่สวยงามมาก มีหินงอกหินย้อย เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ตำบลตำบลวังคัน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig081

 วัดสวนหงส์   เป็นวัดที่เก่าแก่ ชาวบ้านให้ความศรัทธาและเลื่อมใส ซึ่งมีพระครูคุณา
รักษ์ (หลวงพ่อปลื้ม) เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระเกจิอาจารย์ด้านพระพุทธคุณที่ชาวอำเภอบางปลาม้าและใกล้เคียง ให้ความเคารพนับถือศรัทธาในตัวพระคุณท่าน
ตำบลตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

 สภาพทั่วๆไป/ถนน  ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน  เป็นการแข่งขันเรือ
ยาว เรือมที่เข้าร่วมแข่งขันเป็นเรือยาวที่ชนะการแข่งขันจากสนามทั่วประเทศมาแล้ว เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จะแข่งขันในัปดาห์ที่สาม ของเดือนพฤศจิการยนของทุกปี ณ ลำน้ำท่าจีน หน้าวัดสานหงส์ หมู่ 8 ต.บางปลาม้า
ตำบลตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

 สภาพทั่วๆไป/ถนน    ประเพณีบุญบั้งไฟชาวไทยพวน  เป็นประเพณีชาวไทยพวน เป็น
การประกวดแข่งขันบั้งไฟของหมู่บ้านชาวไทยพวนที่อยู่ในอำเภอบางปลาม้า เพื่อการสนุกสนาน สามัคคี และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของชาวไทยพวน ซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันที่ 11 - 13 เมษายน ณ เทศบาลบางปลาม้า (บ้านเก้าห้อง) ต.บางปลาม้า
ตำบลตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี


pig082

  วัดอาน   มีหลวงพ่อจันทรังษีเป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป
ตำบลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี


pig083

  วัดบางเลน  เป็นวัดที่มีอุโบสถสวยงาม มีพระที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน
ตำบลตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี


pig084

 วังมัจฉา วัดสาลี    เป็นอุทยานมัจฉา มีปลามากมายบริเวณคลองหน้าวัด เช่น ปลาสวาย
ปลากราย ปลาเทโพ เป็นต้น
ตำบลตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

 อุทยานมัจฉาวัดป่าพฤกษ์  ที่หน้าวัดป่าพฤกษ์มีปลาธรรมชาติที่ทางวัดสงวนพันธุ์ปลา
ไว้ ไม่ให้บุคคลใดมาจับปลา และทางวัดได้ให้อาหารเพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ประชาชนได้มาพักผ่อนหย่อนใจ มีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิด โดยเฉพาะปลาสวายตัวละหลายกิโลกรัม ประมาณหลายร้อยตัว และปลาอื่น ๆ รวมหลายพันตัว มีนักท่องเที่ยวมากมายหลายพื้นที่มาเที่ยวและให้อาหาร
ตำบลตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี


pig085

 สภาพทั่วๆไป/ถนน   ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ  ประเพณีตักบาตรกลางน้ำจะมีขึ้นใน
แรม 12 ค่ำ เดือน 12 มีชาวบ้านมาร่วมกันตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง มีราษฎรในตำบลและตำบลใกล้เคียง มาร่วมตักบาตรในตอนเช้าประมาณ 6 โมงเช้า มีพระสงฆ์พายเรือมาจากหลายวัดมารับบิณฑบาตร โดยจัดใส่บาตรที่แพหน้าวัดป่าพฤกษ์ เสร็จมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเยาวชนแต่ละหมู่บ้าน
ตำบลตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี


pig086

 
  วัดดอกบัว

ตำบลตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig087

 วัดน้อยหลวงพ่อเนียม   ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดหลวงพ่อเนียม  ตั้งอยู่ริมน้ำสุพรรณใน
ตำบลโคกคราม  ด้านหลังวัดมีถนนลาดยางตัดผ่าน เดินทางเข้าไปถึงอย่างสะดวก  หลวงพ่อเนียม  เป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองสุพรรณ  ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อปานวัดบางนมโค  และหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน  กล่วกันว่าท่านเคยไปเรียนวากับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆัง   ที่วิหารหลังเก่าในลานกว้างหน้าวัดน้อยมีจิตรกรรมฝาผนังแต่เสียหายชำรุดไปดมดทางวัดได้สร้างวิหารใหม่เพื่อประดิษฐานเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงพ่อเนียม  มีโอกาสแวะไปนมัสการปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อเนียมก็ถือว่าเป็นมลคงแก่ชีวิตแล้ว
ตำบลตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

pig088

 วัดวังน้ำเย็น  เป็นวัดเก่าแก่ของตำบล เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวังน้ำเย็น เป็น
แหล่งรวมของชาวบ้าน
ตำบลตำบลวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig089

 วัดพยัคฆาราม  ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสถานที่ที่เงียบสงบ เหมาะสำหรับการปฎิบัติธรรม เป็นสถานที่อบรมสามเณรภาคฤดูร้อนและให้ความรู้แก่สาธารณชนทั่วไปอีกด้วย
ตำบลตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 
 


pig090

 วัดยาง   ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ มีพระพุทธบาทจำลองในมณฑป
ตำบลตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


pig091

  สภาพทั่วๆไป/ถนน   สถานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแผนไทย  ให้บริการนวด, อบ
สมุนไพร, ประคบ, ทับหม้อเกลือ, อยู่ไฟหลังคลอด เปิดบริการ 9.00 - 18.00 น. โดยคุณเล็ก 035-4017581, 01-4017581 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ต.ศรีประจันต์
ตำบลตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


 

 วัดบ้านกร่าง  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) เป็นวัดที่สวยงาม มีประวัติความเป็น
มายาวนาน เป็นที่พบพระขุนแผนวัดบ้านกร่าง
ตำบลตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig092

 วัดเสาธงทอง   วัดเสาธงทองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน หมู่ที่ 2 ต.มดแดง
อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดโบราณไม่ทราบประวัติแน่นอนว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตเพราะปรากฎว่ามีปูชนียวัตถุโบราณที่ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากร 2 อย่าง คือ 1. พระพุทธบาทหินแดง 2. พระพุทธรูปศิลาและเขตพุทธาวาสก่อนที่จะมีการบูรณะสร้างขึ้นใหม่ซากแนวกำแพงโบสถ์
ตำบลตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


pig093

 ธรรมชาติ    หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย  เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ฯพณฯประภัตร โพธสุ
ธน สร้างขึ้น เพื่ออนุรักษ์ มรดกพื้นบ้าน โดยเฉพาะควายไทย
ตำบลตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


pig094

 โรงแรม รีสอร์ท     วังยางรีสอร์ท  เป็นสถานที่ประชุม อบรม เป็นที่พักผ่อน ที่พักค้างคืน
ตำบลตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

 วัดไก่เตี้ย เป็นสถานที่อบรมประชาชนและเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง มีเกจิอาจารย์ชื่อดัง
ตำบลตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig095

 วัง, พระราชวัง, พระตำหนัก    พระราชวังจันทร์เกษม  ตั้งอยู่ ณ วัดดอนเจดีย์ หมุ่ 5
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ เคยใช้พระราชวังจันทร์เกษม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประทับ ชาวสุพรรณบุรีจึงพร้อมใจกันบริจาคเงินสร้างพระตำหนักขึ้น โดยส่วนหนึ่งจำลองมาจากที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระตำหนักแห่งนี้ประกอบด้วยมุข 6 หน้า
ตำบลตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig096

 อนุสาวรีย์   ระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์   ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยระบุไว้เมื่อปี
พ.ศ.2135 องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ไทย ครองกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อองค์พระมหาอุปราชแห่งกรุงหงสาวดี (พม่า) และได้โปรดเกล้าให้จัดสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ ณ ต.หนองสาหร่าย
ตำบลตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig097


ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ 376 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดทางทิศเหนือ 31 กม. การเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 340 เดินทางถึง อ.ศรีประจันต์ เลี้ยวซ้ายไป อ.ดอนเจดีย์
ตำบลตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig098

 แม่น้ำ ลำคลอง ตลาดน้ำ     หนองน้ำ "หนองสาหร่าย"  เดิมตามประวัติศาสตร์อ้างว่า
เป็นสถานที่พักทัพสมัยกรุงศรีอยุธยาเดินทัพมารบกับพม่าสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปัจจุบันได้ปรับปรุงโดยมีรั้วรอบทั้ง 4 ด้าน ในเนื้อที่ 29 ไร่ กว้างประมาณ 250 เมตร ยาว 390 เมตร ลึก 4 เมตร มีเกาะกลาง มีต้นไม้ปลูกโดยรอบ ในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำจากไซบีเรียมาอาศัยอยู่ และนกชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย

ตำบลตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี


pig099

 วัดอัมพวัน  มณฑปหลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอสองพี่
น้อง ภายในมีรูปปั้นหลวงพ่อโหน่ง เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง และเป็นที่เคารพของชาวสองพี่น้อง
ตำบลตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0100

 วัดใหม่พิบูลย์ผล  เป็นวัดที่ให้บริการรักษาโรคเบาหวานโดยการอบสมุนไพร และเป็น
สถานที่การจัดงานประเพณีไทยทรงดำประจำปีของหมู่บ้านและตำบล จัดขึ้นประมาณเดือนเมษายนของทุกปี
ตำบลตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig0101


 วัดไผ่โรงวัว   วัดไผ่โรงวัว หลวงพ่อขอม ได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างศูนย์รวมแห่งพุทธประวัติ
ที่มีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วิหาร และโบสถ์ที่สวยงาม และยังสร้างสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสวรรค์ นรก ให้ผู้คนที่ไปเที่ยวชมได้พึงระลึกการทำดีทำได้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อนสร้างอีกมากมาย
ตำบลตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0102-1pig0102-2

 วัดไผ่โรงวัว  ลักษณะดีเด่น 1. พระพุทธรูปปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 20
วาเศษ สูง 28 วา 2 ศอก 2. พระวิหารร้อยยอด อันเป็นวิหารที่มีความงดงามและใหญ่ที่สุดในโลก 3. พระพุทธโคดม พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 5 วา 1 คืบ ทองหนัก 50 ตัน
ตำบลตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0103

 วัดบางสาม  เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน มีปลาสวายจำนวนมากอยู่บริเวณหน้าวัดให้
ชม
ตำบลตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0104

 วัดบางซอ  เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน มีมณฑปเก่าแก่ เกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงตา
วุ่น ไว้ให้นมัสการ
ตำบลตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0105

 วัดสำเภาทอง  เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน มีปลาสวายอยู่ประปลาย มีการประกอบ
พิธีบวชชีพราหมณ์ (เนขัมมะ)
ตำบลตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0106

 บันเทิง แหล่งบันเทิง   เพลงทรงเครื่อง  เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพลงทรงเครื่อง ซึ่งมีมา
นานในสมัยรัชกาลที่ 6
ตำบลตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0107

 บันเทิง แหล่งบันเทิง   เพลงทรงเครื่อง   เป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพลงทรงเครื่อง ซึ่งเป็น
เพลงพื้นบ้านชาวดอนกลางตำบลเนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีมานานในสมัยรัชกาลที่ 6
ตำบลตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0108

  วัดเขาซ่อนหม้อ  เป็นวัดที่สำคัญของตำบล ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ต.หนองบ่อ สภาพ
บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
ตำบลตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

 ภูเขา ป่า อุทยาน     เขาพนมนาง   เป็นลักษณะเด่นของตำบลหนองบ่อ ที่มีพื้นที่เป็นภู
เขาสภาพร่มรื่น เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นที่ตั้งของค่ายลูกเสือ ซึ่งอยู่ในความดูแลของโรงเรียนวัดเขาพนมนาง อีกทั้งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่เขาพระนาง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในตำบลและตำบลใกล้เคียง
ตำบลตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0109

 วัดทับกระดาน   ตั้งอยู่ริมถนนสายหนองวัลย์เปรียงพระแท่นดงรัง  ท่ามกลางไร่อ้อย
หนาทึบสุดลูกหูลูกตา  เพิ่งเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไประเทศ  พร้อมการจากไปของราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง  ดวงจันทร์  เพราะเป็นบ้านเกิดและสถานที่เติบโตในวัยเด็กของเธอ  มีตลาดนัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติของราชินีเพลงลูกทุ่งโดยได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งแทนตัวของพุ่มพวง  ดวงจันทร์ และเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ่อสุพรรณ
ตำบลตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
  วัดวังหิน   เป็นวัดเก่าแก่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 1 เมษายน 2434 มีเนื้อที่ 37 ไร่ ตั้งอยู่ที่หมู่ 5
ต.ย่านยาว มีอนุสาวรีย์หลวงพ่อแคล้ว และมณฑปหลวงพ่อเล้ก เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง ประเพณีสงกรานต์จะมีการสรงน้ำพระทุกวันที่ 17 เมษายน ของทุกปี
ตำบลตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
 วัดนางพิมพ์   มีหลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่มาก ชาวบ้านใกล้เคียง มีความเคารพนับ
ถือเป็นส่วนมาก
ตำบลตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
 วัดวังจิก  มีหลวงพ่อหล่ำที่ชาวบ้านเคารพนับถือ และหลวงพ่อทองหยด ที่สร้างศาลา
การเปรียญวัดวังจิก ซึ่งเป็นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี
ตำบลตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0110

 วัดบางแอก  เป็นวัดร้างที่สร้างขึ้นในสมัยอู่ทอง มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 4
ติดถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท เป็นวัดเก่าที่ชาวบ้านและผุ้เดินทางผ่านไปมาให้ความเคารพนับถือมาก
ตำบลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
 

pig0111

 วัดบ้านทึง  เป็นวัดที่ใช้เป็นสถานที่วิปัสนา มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ติด
ถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท บริเวณวัดปลุกต้นไม้มีความร่มรื่นมาก

ตำบลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0112

  บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อน  บึงระหาร  เป็นยแหล่งน้ำธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 2
ต.สามชุก อ.สามชุก มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งได้ขุดลอกปรับปรุงใหม่ มีถนนคอนกรีตรอบบึง มีน้ำตลอดปี
ตำบลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0113

 โบราณสถาน     โบราณสถานวัดหนองผักนาก   วัดหนองผักนาก ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้าน
หนองผักนาก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองผักนาก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ ที่ดินที่ตั้งวัดมีประมาณ 36 ไร่เศษ เป็นวัดที่เก่าแก่ ซึ่งไม่สามารถที่จะสืบประวัติของการก่อสร้างวัดว่า ใครเป็นผู้สร้าง สร้างขึ้นเมื่อใด ในสมัยไหน
ตำบลตำบลหนองผักนาก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0114

 วัดลาดสิงห์   เป็นที่ประดิษฐ์ฐานของหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สร้าง
ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ คือ พระนเรศวร พระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา
ตำบลตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0115

 วัดดอนไร่   วัดดอนไร่ หมู่ที่ 2 ตงหนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เป็นวัดที่ตั้ง
บรรจุศพระครูสุวรรณ วุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) เป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่งของประเทศไทย เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพสักการะของประชานทั่วไป
ตำบลตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0116

 วัดพระศรีสรรเพชญาราม   เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภออู่ทอง มีมณฑปอยู่บนเขา
ประดิษฐานพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาท สำหรับเป็นที่สักการะบูชาของชาวอำเภออู่ทอง อยู่ห่างจากชุมชนตลาดอำเภอไปทางทิศตะวันตกระยะทางประมาณ 1 กม.
ตำบลตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0117

 พิพิธภัณฑ์     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง  ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตก
ประมาณ 30 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ มีการจัดอาคารการแสดงโบราณวัตถุและวัฒนธรรมจำนวน 3 อาคาร อาคารที่ 1 แสดงอารยธรรม อาคารที่ 2 แสดงประวัติศาสตร์ และอาคารที่ 3 แสดงสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม เครื่องมือเครื่องใช้ เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.00 น.
ตำบลตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

  ภูเขา ป่า อุทยาน    วนอุทยานพุม่วง  เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ มีน้ำตกพุม่วง อ่างเก็บน้ำ เขาถ้ำเสือ วัดถ้ำเสือ หินชั้น ต้นจันทร์ผา ลานตะโก โบราณสถานคอกช้างดิน
ตำบลตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

 งานประเพณี งานกีฬาต่างๆ    ไทยทรงดำ  ประเพณีขึ้นปีใหม่ของลาวโซ่ง จะมีขึ้นใน
เดือนเมษายนของทุกปี
ตำบลตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0118

 งานประเพณีไทยทรงดำ  จัดในช่วงสงกรานต์ของทุกปี มีการละเล่นตามวัฒนธรรม มี
การแต่งกาย งานรื่นเริง การประกวดสาวงาม ธิดาไทยทรงดำ
ตำบลตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0119

 วัดดอนมะเกลือ  จะดำเนินการสร้างศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ และมีสถานที่สักการะ
บูชา คือมณฑปหลวงปู่นันท์ (อดีตพระเกจิอาจารย์)

ตำบลตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0120

  วัดเขาดีสลัก   เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาท สมัยทวารวดี สร้างขึ้นราว
ศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,200 ปี เป็นศิลปสมัยทวารวดี ลักษณะเป็นศิลารูปเท้าคนขนาดใหญ่ หงายฝ่าเท้าขึ้น นิ้วพระบาทยาวเสมอกัน ส้นพระบาทโค้งกลม ต้องตามพระบาลี แตกต่างกับรอยพรพุทธบาทแห่งอื่น ๆ ในประเทศไทย ลักษณะเด่น แหล่งรอยพระพุทธบาท มณฑปที่สวยงาม และพระถ้ำเสือกรุเขาดีสลัก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร. (035) 437217
ตำบลตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0121

 โรงแรม รีสอร์ท  ทุ่งดินดำรีสอร์ท  เป็นสถานที่ปลูกป่า และจัดสรรที่จำหน่าย มีสถาน
ที่ฝึกอบรม และห้องนอน มีสถานที่พักผ่อน
ตำบลตำบลบ้านโข้ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
 


pig0122

 ศาลหลักเมือง/สถานที่สักการะบูชา  วิหารหลวงพ่อสมบูรณ์  เป็นสถานที่กราบไหว้
ของชาว ต.สระพังลาน และใกล้เคียง

ตำบลตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


pig0123

  ศาลหลวงปู่สิงหา เป็นสถานที่กราบไหว้ของชาว ต.สระพังลาน และไกล้เคียง
ตำบลตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

  วัดหนองหลวง  เป็นวัดที่มีโบสถ์สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ มีหลวงพ่อเกษประ
ทุม ประดิษฐานอยู่ภายใน เป็นที่เคารพของชาวอำเภอหนองหญ้าไซ
ตำบลตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

  เจดีย์ดงวัดนอก  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ
จ.สุพรรณบุรี เป็นเจดีย์เก่าแก่รูปทรงศิลปะสมัยอยุธยา เป็นโบราณสถานที่ชาวหนองหญ้าไซ เคารพหวงแหน
ตำบลตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

  วัดบังลังก์  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ต.หนองหญ้าไซ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี เป็นวัด
ที่มีอุโบสถงดงามประดับด้วยกระจกสี มีหลวงพ่อพยุง สุนทโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเจ้าอาวาส มีพระเครื่องที่ทรงพุทธคุณชื่อดัง
ตำบลตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี